Full Map

ระบบเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช NSTRU-NET

   ปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช โดยสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้รับผิดชอบงานสนับสนุนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ แก่หน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยฯ ให้ดำเนินงานตามพันธกิจต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพช่วยให้การผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการบริหารจัดการมีความสะดวก รวดเร็ว และคล่องตัวเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้บริการ ตอบสนองนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้มหาวิทยาลัยฯ สามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเอง สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศได้ออกแบบโครงสร้างพื้นฐานของระบบสารสนเทศให้ครอบคลุมการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงานต่างๆ ปัจจุบันได้ออกแบบเครือข่ายสารสนเทศ NSTRU-NET ให้สามารถตอบสนองกับความต้องการของหน่วยงานภายในและผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงระบบสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องตามความต้องการ และมีระบบรักษาความปลอดภัย (Firewall) ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครือข่าย NSTRU-NET กับเครือข่ายภายนอกและป้องกันการโจมตีระบบในรูปแบบต่างๆ พร้อมทั้งได้จัดเตรียมระบบจัดเก็บข้อมูลการจราจร (Log File Server) ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 ซึ้งใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า NAC (Network Access Control) ในการจัดการ และปัจจุบันการเชื่อมต่อ (Link) กับเครือข่ายภายนอกมี 2 เส้นทางผ่านระบบ Load balance ดังนี้

- บริการอินเทอร์เน็ตของ สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet) ซึ้งทางมหาวิทยาลัยฯ ใช้เป็น ลิงค์หลัก ความเร็วที่ได้รับอยู่ที่ 10Gbps

- บริการอินเทอร์เน็ตของ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (NT) ซึ้งทางมหาวิทยาลัยฯ ใช้เป็น ลิงค์สำรอง กรณีที่ (UniNet) ลิงค์หลักมีปัญหา ความเร็วที่ได้รับอยู่ที่ 2000/300 Mbps

   สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ออกแบบระบบโครงข่ายสารสนเทศเพื่อเชื่อมต่อไปยัง คณะ, สำนักงาน,  สถาบัน, หน่วยงาน, บ้านพัก, หอพักนักศึกษา เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการ โดยใช้โครงข่ายการสื่อสารด้วยสายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) ไปยังสถานที่ดังกล่าว พร้อมทั้งติดตั้งอุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Managed Switches) สำหรับการบริหารเครือข่ายภายในพื้นที่ให้บริการ

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศรับผิดชอบดูแลงานด้านระบบเครือข่าย ดังนี้
1. บริการระบบสารสนเทศด้านระบบเครือข่าย
2. พัฒนาระบบเครือข่ายแบบใช้สาย
3. พัฒนาระบบเครือข่ายแบบไร้สาย
4. บำรุงรักษาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
5. แก้ปัญหาระบบเครือข่ายและบริการอินเตอร์เน็ต

การออกแบบระบบเครือข่าย มีเกณฑ์ในการพิจารณาออกแบบดังนี้
1. เพื่อให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์รองรับการสื่อสารข้อมูลที่มีความเร็วสูง(ไม่น้อยกว่า 100Mbps)
2. เพื่อแยกส่วนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของงานบริหารและงานบริการการเรียนการสอนได้อย่างชัดเจน
3. เพื่อให้เชื่อมโยงไปยังเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ทั่วโลก
4. ระบบเครือข่ายจะต้องใช้เทคโนโลยีที่เป็นมาตรฐานและเป็นที่นิยมในการใช้งาน